วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อดีของศิลลปะ


ศิลปะบำบัด
                 

           ศิลปะบำบัด (Art Therapy) เป็นศาสตร์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นกระบวนการเยียวยา บำบัดรักษา ผู้ที่ขาดความสมดุลตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยนักศิลปะบำบัด ที่ผ่านการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และมีมาตราฐานอย่างในประเทศเยอรมัน จุดกำเนิดหนึ่งในศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ได้มีการเรียนการสอนในการผลิตนักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์กร BVAKT (Berufeverbände für Anthroposophische Kunsttherapie in Deutschland)   ซึ่งความคิดและหลักปรัชญาในการทำงานศิลปะบำบัดนี้ได้ถูกสั่งสมมาเกือบ 100 ปี (ค.ศ. 1921–ปัจจุบัน)โดยนักปรัชญา-นักฟิสิกส์นาม ดร. รูดอล์ฟ  สไตเนอร์ (Dr. Rudolf Steiner : ค.ศ. 1861–1925)  ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ ออกเป็นส่วน ๆ  แต่ยังเผยให้โลกล่วงรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับจิตวิญญาณของมนุษย์  โดยเฉพาะเรื่องสีนั้น สไตเนอร์ได้พูดถึงสีที่มีผลต่อสภาพจิตใจ (See and Sense) จากการค้นคว้าทางวิชาการและเรียบเรียงผลงานทฤษฎีสีของเกอเธ่ (Goethe, Colour Theory)  อีกทั้ง สไตเนอร์ยังได้เชื่อมโยงองค์ความรู้  ทั้งการแพทย์องค์รวม  การพัฒนาการของเด็ก  การศึกษาที่มีชีวิต  การบำบัด  ฯลฯ  ให้เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกัน

สำหรับประเทศไทยได้มีการใช้แนวทางศิลปะบำบัดในแนวมนุษยปรัชญาในหลากหลายมิติ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน โดยมีการศึกษาค้นคว้าด้านศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญาอย่างจริงจัง และเผยเพร่ไปยังส่วนต่างๆ ดังนี้ ศิลปะบำบัดในโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ศิลปะบำบัดในโรงพยาบาลมนารมย์ศิลปะบำบัดในโรงเรียนอนุบาลบ้านรักศิลปะบำบัดสำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ศิลปะบำบัดสำหรับเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลตุลาการ เป็นต้น   ซึ่งความรู้และความเข้าใจของศิลปะบำบัดในแนวทางนี้มีความน่าสนใจหลายประการต่อนักศิลปะบำบัดในหลากหลายแนวทาง  ตั้งแต่ครูการศึกษาพิเศษ ตลอดจนผู้ใฝ่ใจศาสตร์ที่เชื่อมโยงระหว่างศิลปะและจิตวิญญาณด้านใน

การเริ่มต้นของศิลปะบำบัด 

ศิลปะบำบัดในทางมนุษยปรัชญา  เริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากแนวคิดมนุษยปรัชญา ( Anthroposophy )  ถูกคิดค้นโดย ดร.รูดอร์ฟ  สไตเนอร์ นักคิด นักปรัชญา นักฟิสิกข์ ชาวเยอรมัน ซึ่งให้ความหมายการทำงานเชิงบำบัดไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งถึงการนำศิลปะแขนงต่างๆ มาช่วยให้มนุษย์เกิดความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ โดยมีนักศิลปะบำบัดที่ร่ำเรียนและฝึกฝนเป็นผู้ทำการบำบัด
 กระบวนการทำงานของเรา
การศึกษาศิลปะและศิลปะบำบัดในมนุษยปรัชญา มุ่งเน้นที่กระบวนการ (Process) ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การปั้น ดนตรี การเคลื่อนไหว ฯลฯ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ศิลปะบำบัดมิได้ต้องการความสำเร็จรูปของแนวทางการบำบัด นักศิลปะบำบัดควรวินิจฉัยและสังเคราะห์บทเรียนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การวาดภาพระบายสีเพื่อการบำบัดก็เช่นกัน ล้วนมีลำดับขั้นตอนต่อการทำงานดังนี้
·         ศึกษาประวัติเด็กจากแพทย์อย่างละเอียด ศึกษาคำวินิจฉัยและข้อมูลอื่น ๆ จากแพทย์
·         ศึกษาข้อมูลจากคอบครัว การพบกันครั้งแรกของนักบำบัดกับพ่อแม่จะได้มาซึ่งข้อมูลของเด็ก นับตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์พัฒนาการในวัยเด็กนิสัยการเจ็บป่วยในปัจจุบันการนอนของเด็กการรับประทานอาหารการปฏิสัมพันธ์กับสังคมและเพื่อนรอบข้างความถนัดซ้าย-ขวาการเจ็บป่วยนั้นส่งผลต่อเด็กและผู้คนในบ้านอย่างไร

·         ศึกษาข้อมูลจากครูประจำชั้นแพทย์ประจำโรงเรียน

·         ศึกษาข้อมูลจากเด็ก โดยใช้เวลาทั้งหมด 3 ครั้งแรก ทั้งนี้ให้เด็กได้ทำงานศิลปะ ได้แก่
            -  การวาดภาพลายเส้น (Drawing)
            -  การวาดภาพสีน้ำบนกระดาษเปียก (Painting wet on wet)
            -  การปั้นดิน (Modeling)
·         เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ นักศิลปะบำบัดได้เห็นเด็ก สภาวะภายในของเด็กที่สะท้อนออกมาจากผลงานศิลปะทั้ง  3  ครั้ง จึงสามารถเลือกหัวข้อและทิศทางในการวาดภาพระบายสีเพื่อการบำบัดต่อไปได้อย่างถูกต้อง  

 คุณประโยชน์ 

ในการทำงานศิลปะบำบัดกับผู้ที่ขาดความสมดุลเป็นการมองการเยียวยาอย่างเป็นองค์รวม ทั้งความคิด ความรู้สึก และเจตจำนง   ในปัจจุบันปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคมีสาเหตุมาจากจิตใจมากกว่าร่างกาย   ดังนั้น แพทย์ตามแนวมนุษยปรัชญาจึงใช้ศิลปะบำบัดร่วมในการรักษาด้วย  กระทั่งสามารถกล่าวได้ว่า ศิลปะบำบัดหมายถึงการฟื้นชีวิตอีกครั้งจากภายในหรือปรับดุลยภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้

·ความคิด (Thinking)     ·ความรู้สึก (Feeling)  ·เจตจำนง (Willing)   




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น