วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เกร็ดความรู้
ช่างปั้น
ช่างปั้น คือ บุคคลประเภทหนึ่ง ที่มีทั้งฝีมือ
และ ความสามารถเป็นช่าง อาจกระทำการประมวลวัสดุต่างๆ อาทิ ดิน ปูน ขี้ผึ้ง
อย่าง ใดอย่างหนึ่ง มาประกอบเข้าด้วยกัน สร้างเป็นรูปทรงที่มีศิลปะลักษณะ
พร้อมอยู่ในรูปวัตถุที่ได้สร้าง ขึ้นนั้นได้เป็นอย่างดี และ มีคุณค่าในทางศิลปกรรม
งานปั้น
ช่างผู้ทำงานปั้นนี้ เมื่อสมัยโบราณที่ล่วงๆ ไปนั้นเรียกว่า “งานปั้น”และ “ช่างปั้น” แต่ในปัจจุบัน “งานปั้น” เปลี่ยนไปเป็น “ประติมากรรม” ซึ่งมีนัยว่า มาแต่คำภาษาบาลีว่า
ปฏิมากมฺม หรือในภาษาสันสกฤตว่า ปรฺติมากรฺม ส่วนคำว่า “ช่างปั้น” ก็ได้รับความนิยม เรียกว่า “ประติมากร”
วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บทความเกร็ดความรู้
ศิลปะศรีวิชัย
จากความเชื่อที่ว่ามีอาณาจักรหนึ่งรุ่งเรีองขึ้นใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระหว่างราวพุทธศตวรรษที่ 13-18 อาจจะมี ราชธานีตั้งอยู่ใกล้กันกับเมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตราในปัจจุบัน นี้ บางครั้งอาณาจักรนี้อาจจะได้ครอบครองแหลมมลายูและดินแดนบางส่วนในภาคใต้ของ ประเทศไทยด้วย นักปราชญ์ทางโบราณคดีเรียกชื่ออาณาจักรนี้ว่า "ศรีวิชัย" ตามจารึกที่ค้นพบที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้มีการเรียกชื่อศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยในช่วง ระยะเวลานั้นว่า "ศิลปะแบบศรีวิชัย" ศิลปกรรมสกุลช่างนี้ส่วนใหญ่สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และมีรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ หลังคุปตะ ปาละ-เสนะ และศิลปะชวาภาคกลาง ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 12 หรือ 13-14 ขณะเดียวกัน ก็ยังได้พบงานสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจามและเขมรโบราณ รวมทั้งงานประติมากรรมและศิลาจารึกภาษาทมิฬ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณในภาคใต้ของไทยกับ ชุมชนโบราณในประเทศอินเดียตอนใต้ด้วย
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บทความ
จุดม่งหมายองค์ประกอบของการสร้างสรรค์งานศิลปะ
จุดม่งหมายของการสร้างสรรค์
งานศิลปะโดยเฉพาะงานศิลปะสมัยปัจจุบัน ศิลปะจะสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบที่หลากหลาย
มากขึ้นทำให้มี ขอบข่ายกว้างขวางมาก แต่ไม่ว่าจะเป็นไปในลักษณะใดก็ตาม
งานศิลปทุกประเภท จะให้คุณค่าที่ตอบสนองต่อมนุษย์
ในด้านที่เป็นผลงานการแสดงออกของอารมณ์ ความ รู้สึกและความคิด เป็นการสื่อถึงเรื่องราวที่สำคัญ
หรือเหตุการณ์ที่ประทับใจ เป็นการตอบสนองต่อความพึงพอใจ
ทั้งทางด้านจิตใจและความสะดวกสบายด้านประโยชน์ใช้สอยของศิลปวัตถุ
องค์ประกอบของการสร้างสรรค์งานศิลปะ
การสร้างสรรค์จะประสบความสำเร็จเป็นผลงานได้
นอกจากต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์
เป็นตัวกำหนดแนวทางและรูปแบบแล้ว ยังต้องอาศัยสามารถที่ยอดเยี่ยมของศิลปิน ซึ่งเป็นความ
สามารถเฉพาะตน เป็นความชำนาญที่เกิดจากการฝึกฝนและความพยายามอันน่าทึ่ง เพราะฝีมืออัน
เยี่ยมยอดจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีความงามอันเยี่ยมยอดได้ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยวัสดุ
อุปกรณ์ต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น
วัตถุดิบที่ใช้เป็นสื่อในการแสดงออก และเครื่องมือที่ใช้สร้างสรรค์ให้เกิดผลงาน ตามความชำนาญ
ของศิลปินแต่ละคน แนวทางในการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินแต่ละคน อาจมีที่มาจากแนว
ทางที่ต่างกัน บางคนได้รับแรงบันดาลใจจากความงาม ความคิด ความรู้สึก ความประทับใจ แต่
บางคนอาจสร้างสรรค์งานศิลปเพื่อแสดงออกถึงฝีมืออันเยี่ยมยอดของตนเอง เพื่อประกาศความเป็น
เลิศอย่างไม่มีที่เปรียบปานโดยไม่เน้นที่เนื้อหาของงาน และบางคนอาจสร้างสรรค์งานศิลปจาก
การใช้วัสดุที่สนใจ โดยไม่เน้นรูปแบบและแนวคิดใด ๆ เลยก็ได้
เป็นตัวกำหนดแนวทางและรูปแบบแล้ว ยังต้องอาศัยสามารถที่ยอดเยี่ยมของศิลปิน ซึ่งเป็นความ
สามารถเฉพาะตน เป็นความชำนาญที่เกิดจากการฝึกฝนและความพยายามอันน่าทึ่ง เพราะฝีมืออัน
เยี่ยมยอดจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีความงามอันเยี่ยมยอดได้ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยวัสดุ
อุปกรณ์ต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น
วัตถุดิบที่ใช้เป็นสื่อในการแสดงออก และเครื่องมือที่ใช้สร้างสรรค์ให้เกิดผลงาน ตามความชำนาญ
ของศิลปินแต่ละคน แนวทางในการสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินแต่ละคน อาจมีที่มาจากแนว
ทางที่ต่างกัน บางคนได้รับแรงบันดาลใจจากความงาม ความคิด ความรู้สึก ความประทับใจ แต่
บางคนอาจสร้างสรรค์งานศิลปเพื่อแสดงออกถึงฝีมืออันเยี่ยมยอดของตนเอง เพื่อประกาศความเป็น
เลิศอย่างไม่มีที่เปรียบปานโดยไม่เน้นที่เนื้อหาของงาน และบางคนอาจสร้างสรรค์งานศิลปจาก
การใช้วัสดุที่สนใจ โดยไม่เน้นรูปแบบและแนวคิดใด ๆ เลยก็ได้
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บทความ
ศิลปะและจินตนาการ
ไอสไตน์เคยกล่าวว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้”แต่จินตนาการก็ช่วยเด็กสร้างความรู้และประสบการณ์ของตนเองจากประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กช่วยให้เขาจินตนาการต่อไปเมื่อเขาจินตนาการต่อเขาก็จะแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆเช่นการวาดรูปรูปที่เขาวาดจึงเจือปนไปด้วยประสบการณ์ ความรู้ และจินตนาการแต่น่าเสียดายที่พ่อแม่หลายคนจำกัดกรอบประสบการณ์ ความรู้ และจินตนาการของเด็กไว้เพียงแค่ทีวี อินเตอร์เน็ต เกมส์ และการเรียนทั้งที่ชีวิต ผู้คน ธรรมชาติแวดล้อมรอบตัวเองล้วนแล้วแต่มีเรื่องราว ความรู้มากมายที่จะช่วยสร้างสรรค์จินตนาการของเด็กเพราะจินตนาการนี่แหละที่ไปสร้างความรู้ต่อทำให้ความรู้ไม่หยุดนิ่งมีการพัฒนาต่อยอดออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ข้อดีของศิลลปะ
ศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัด (Art Therapy) เป็นศาสตร์เฉพาะทางที่มุ่งเน้นกระบวนการเยียวยา บำบัดรักษา ผู้ที่ขาดความสมดุลตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยนักศิลปะบำบัด ที่ผ่านการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และมีมาตราฐานอย่างในประเทศเยอรมัน จุดกำเนิดหนึ่งในศิลปะบำบัดแนวทางมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ได้มีการเรียนการสอนในการผลิตนักศิลปะบำบัด (Art Therapist) ที่ได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์กร BVAKT (Berufeverbände für Anthroposophische Kunsttherapie in Deutschland) ซึ่งความคิดและหลักปรัชญาในการทำงานศิลปะบำบัดนี้ได้ถูกสั่งสมมาเกือบ 100 ปี (ค.ศ. 1921–ปัจจุบัน)โดยนักปรัชญา-นักฟิสิกส์นาม ดร. รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (Dr. Rudolf Steiner : ค.ศ. 1861–1925) ซึ่งไม่ได้แบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ ออกเป็นส่วน ๆ แต่ยังเผยให้โลกล่วงรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับจิตวิญญาณของมนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องสีนั้น สไตเนอร์ได้พูดถึงสีที่มีผลต่อสภาพจิตใจ (See and Sense) จากการค้นคว้าทางวิชาการและเรียบเรียงผลงานทฤษฎีสีของเกอเธ่ (Goethe, Colour Theory) อีกทั้ง สไตเนอร์ยังได้เชื่อมโยงองค์ความรู้ ทั้งการแพทย์องค์รวม การพัฒนาการของเด็ก การศึกษาที่มีชีวิต การบำบัด ฯลฯ ให้เป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกัน
สำหรับประเทศไทยได้มีการใช้แนวทางศิลปะบำบัดในแนวมนุษยปรัชญาในหลากหลายมิติ
มาตั้งแต่ พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน โดยมีการศึกษาค้นคว้าด้านศิลปะบำบัดแนวมนุษยปรัชญาอย่างจริงจัง
และเผยเพร่ไปยังส่วนต่างๆ ดังนี้ ศิลปะบำบัดในโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์,
ศิลปะบำบัดในโรงพยาบาลมนารมย์, ศิลปะบำบัดในโรงเรียนอนุบาลบ้านรัก,
ศิลปะบำบัดสำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์, ศิลปะบำบัดสำหรับเยาวชนที่อยู่ในความดูแลของโรงพยาบาลตุลาการ เป็นต้น
ซึ่งความรู้และความเข้าใจของศิลปะบำบัดในแนวทางนี้มีความน่าสนใจหลายประการต่อนักศิลปะบำบัดในหลากหลายแนวทาง
ตั้งแต่ครูการศึกษาพิเศษ
ตลอดจนผู้ใฝ่ใจศาสตร์ที่เชื่อมโยงระหว่างศิลปะและจิตวิญญาณด้านใน
การเริ่มต้นของศิลปะบำบัด
ศิลปะบำบัดในทางมนุษยปรัชญา เริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่
20 จากแนวคิดมนุษยปรัชญา ( Anthroposophy ) ถูกคิดค้นโดย ดร.รูดอร์ฟ สไตเนอร์ นักคิด
นักปรัชญา นักฟิสิกข์ ชาวเยอรมัน
ซึ่งให้ความหมายการทำงานเชิงบำบัดไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งถึงการนำศิลปะแขนงต่างๆ
มาช่วยให้มนุษย์เกิดความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ
โดยมีนักศิลปะบำบัดที่ร่ำเรียนและฝึกฝนเป็นผู้ทำการบำบัด
กระบวนการทำงานของเรา
การศึกษาศิลปะและศิลปะบำบัดในมนุษยปรัชญา
มุ่งเน้นที่กระบวนการ (Process) ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพ การปั้น ดนตรี การเคลื่อนไหว ฯลฯ
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ศิลปะบำบัดมิได้ต้องการความสำเร็จรูปของแนวทางการบำบัด
นักศิลปะบำบัดควรวินิจฉัยและสังเคราะห์บทเรียนให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
การวาดภาพระบายสีเพื่อการบำบัดก็เช่นกัน ล้วนมีลำดับขั้นตอนต่อการทำงานดังนี้
·
ศึกษาประวัติเด็กจากแพทย์อย่างละเอียด
ศึกษาคำวินิจฉัยและข้อมูลอื่น ๆ จากแพทย์
·
ศึกษาข้อมูลจากคอบครัว
การพบกันครั้งแรกของนักบำบัดกับพ่อแม่จะได้มาซึ่งข้อมูลของเด็ก
นับตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์, พัฒนาการในวัยเด็ก, นิสัย, การเจ็บป่วยในปัจจุบัน, การนอนของเด็ก,
การรับประทานอาหาร, การปฏิสัมพันธ์กับสังคมและเพื่อนรอบข้าง,
ความถนัดซ้าย-ขวา, การเจ็บป่วยนั้นส่งผลต่อเด็กและผู้คนในบ้านอย่างไร
·
ศึกษาข้อมูลจากครูประจำชั้น, แพทย์ประจำโรงเรียน
·
ศึกษาข้อมูลจากเด็ก
โดยใช้เวลาทั้งหมด 3 ครั้งแรก ทั้งนี้ให้เด็กได้ทำงานศิลปะ ได้แก่
- การวาดภาพลายเส้น (Drawing)
- การวาดภาพสีน้ำบนกระดาษเปียก (Painting wet on wet)
- การปั้นดิน (Modeling)
- การวาดภาพสีน้ำบนกระดาษเปียก (Painting wet on wet)
- การปั้นดิน (Modeling)
·
เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้
นักศิลปะบำบัดได้เห็นเด็ก สภาวะภายในของเด็กที่สะท้อนออกมาจากผลงานศิลปะทั้ง
3 ครั้ง
จึงสามารถเลือกหัวข้อและทิศทางในการวาดภาพระบายสีเพื่อการบำบัดต่อไปได้อย่างถูกต้อง
คุณประโยชน์
ในการทำงานศิลปะบำบัดกับผู้ที่ขาดความสมดุลเป็นการมองการเยียวยาอย่างเป็นองค์รวม
ทั้งความคิด ความรู้สึก และเจตจำนง
ในปัจจุบันปัญหาของโรคภัยไข้เจ็บหลายโรคมีสาเหตุมาจากจิตใจมากกว่าร่างกาย
ดังนั้น แพทย์ตามแนวมนุษยปรัชญาจึงใช้ศิลปะบำบัดร่วมในการรักษาด้วย
กระทั่งสามารถกล่าวได้ว่า
ศิลปะบำบัดหมายถึงการฟื้นชีวิตอีกครั้งจากภายในหรือปรับดุลยภาพในด้านต่าง ๆ ดังนี้
·ความคิด (Thinking) ·ความรู้สึก (Feeling) ·เจตจำนง (Willing)
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555
อิสรภาพแห่งจิตวิญญาณ
อิสรภาพแห่งจิตวิญญาณ
นิทรรศการศิลปะ "อิสรภาพแห่งจิตวิญญาณ" เป็นความตั้งใจที่เกิดจากความปรารถนาลึกๆ ของจิตใจ "วินัย ปราบริปู" ที่อยากแสดงออกในศิลปะ จึงตั้งแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานล่วงหน้าเป็นปี ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการกำหนดว่ารูปแบบผลงานจะออกมาลักษณะใด หากแต่ความมั่นใจและตั้งใจมั่นที่จะทำงานศิลปะซึ่งกลั่นออกมาจากใจและมั่นใจในประสบการณ์ที่ สร้างสรรค์ศิลปะมาตลอดชีวิต รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจและชื่นชมรูปแบบศิลปะที่หลากหลาย จนกระทั่งได้ก่อตั้งหอศิลป์ริมน่าน สนับสนุนการสร้างสรรค์และเผยแพร่ศิลปกรรมร่วมสมัยและทำอาคารเชิดชูเกียรติศิลปิน
"หนานบัวผัน" ผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์และวัดหนองบัว จ.น่าน ณ หอศิลป์ริมน่าน ด้วยประสบการณ์การจัดกิจกรรมศิลปะ ณ หอศิลป์ริมน่าน และความสามารถในทักษะฝีมือที่เขียนภาพ ภาพวิวทิวทัศน์ทะเลภูเขาและภาพคน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากจิตรกรรมฝาผนังของวินัย ปราบริปู ทำให้เขาคุ้นเคยกับรูปแบบศิลปะที่มีองค์ประกอบความงดงามแตกต่างกัน ทำให้เขาเกิดความต้องการที่จะหนีจากการสร้างสรรค์ศิลปะที่มีการกำหนดเนื้อหาสาระและรูปแบบ รวมทั้งขั้นตอนการสร้างสรรค์ที่ไม่เอื้อต่อการแสดงออกอย่างอิสระ จึงเกิดการวางแนวทาง หัวข้อนิทรรศการศิลปะ "อิสรภาพแห่งจิตวิญญาณ" ขึ้น ดังนั้น รูปแบบศิลปะนามธรรมจึงเป็นรูปแบบที่เอื้ออำนวยให้การแสดงความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอิสระค่อนข้างสอดคล้องกับการสร้างผลงานที่ได้แสดงตามความพึงพอใจของศิลปิน ซึ่งปรากฏในสีสันที่สดใสงดงาม รวมทั้งการเลื่อนไหลของเส้นสาย รูปลักษณ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิภาณไหวพริบในการสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ หอศิลป์ริมน่านจึงจัดนิทรรศการนี้ขึ้น เพื่อต้อนรับผู้ชื่นชอบศิลปะในช่วงที่มีการท่องเที่ยวสูง จึงน่าสนใจอย่างยิ่ง
วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บทความเีกี่ยวกับจิตรกรรม
จิตรกรรม
จิตรกรรม เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร
จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ
ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
ความหมาย
ความหมายของการถ่ายภาพ
ความหมายของการถ่ายภาพ
มี 2 ประเด็น คือ
1.
เชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง
การทำปฏิกิริยาระหว่างวัสดุไวแสงกับแสง
2.
เชิงศิลปะ หมายถึง
การวาดภาพด้วยแสงและเงารวมทั้งการผสมสีเพื่อถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึก อารมณ์
หรือทัศนคติ
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บทความสั้นๆเกี่ยวกับศิลปะ
บทความ
งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน
ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art
วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
welcome
ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งศิลป์โลกของจินตนาการ
ขอต้อนรับสมาชิกทุกท่านที่สนใจในเรื่องของภาพวาดหรือรุปถ่ายหรืองานศิลป์ในแขนงต่างๆที่ชอบที่สนใจในเรื่องของความงดงามในเรื่องของธรรมชาติหรือเรื่องต่างๆที่ถ่ายทอดออกมาจากปลายผู้กันหรือในสื่อต่างๆที่ทันสมัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)